วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบ pat 2 เคมี

ข้อ 41 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุในคาบที่ 2 แกน y น่าจะแสดงถึงค่าใด


ดูกราฟ จะเห็นว่าบอกเลขอะตอมของธาตุมา ตั้งแต่ 3-10 เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น มันคือหมู่ 1-8 คาบ 2 นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ตัด ข้อ 1 ทิ้งทันที เพราะ หมู่ 8 ไม่มี EN เหลือ 3 ตัวเลือก
มาดูสิ่งที่คุ้นเคยดีกว่าครับ
ข้อ 3 IE1 กราฟของ IE 1 จะเป็นรูปสายฟ้าคือ ในคาบเดียวกันจะเรียงคร่าวๆได้ดังนี้
หมู่ 8>หมู่ 7>หมู่ 5>หมู่ 6>หมู่ 4>หมู่ 2>หมู่ 3>หมู่ 1 เพราะฉะนั้นกราฟนี้ไม่ใช่ IE1
ข้อ 4 IE2 เห็นว่าเลขอะตอม 3 นั่นคือ Li มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 1 การจะดึงอิเล็กตรอนออก 2 ตัว มันต้องเข้าไปดึงชั้นข้างใน จึงทำให้ต้องใช้พลังงานสูง เพราะฉะนั้นจึงตอบ ข้อ 4



42. เฉลย 2(ขอบคุณความคิดเห็นที่ 6 นะครับ)
เหตุผล เพราะ ทั้งสองต่างมีประจุบวก จึงต้องเคลื่อนที่ไปแนวเดียวกัน ตัดข้อ 1 ทิ้งเลย
แต่ He มีมวลน้อยกว่า Ne จึงสามารถเลี้ยวเบนแล้วมีรัศมีการเลี้ยวเบนที่สั้นกว่า (นึกไม่ออกลองวาดรูปดูนะครับ)


43.  ตอบ ไม่มีคำตอบ หากพิจรณาตามข้อมูลในความเป็นจริงจะตอบข้อ 1
เหตุผล
ธาตุ X เลขอะตอม 29 รู้ทันทีว่าคือ Cu เป็นธาตุทรานซิชั่นแถวแรกตัวที่ 9  เป็นของแข็ง และ E0 เป็นลบ จริงๆ อันนี้ขัดจากความจริงเพราะ Cu มีค่า E0 เป็นบวก
ธาตุ Y โมเลกุลอะตอมคู่ มี 7 ธาตุ คือ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน แต่โจทย์บอกว่า มีร้อยละ 20 ในอากาศ มันคือ ก๊าซออกซิเจนนั่นเองครับ
ธาตุ Z เป็นแก๊สสีเขียว เป็นโมเลกุลอะตอมคู่แบบ Y
ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน มี 5 ธาตุ ที่เป็นก๊าซคือ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน
ส่วนโบรมีนเป็นของเหลว ไอโอดีนเป็นของแข็ง แต่โจทย์บอกมีสีเขียว  ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน เป็นก๊าซไม่มีสี ดังนั้นจึงเป็นก๊าซคลอรีน
ดูทีละตัวเลือกนะครับ
1.Cu+HCl----->ไฮโดรเจน ถูกต้องตามโจทย์ครับ เพราะ จะเกิดปฏิกิริยาได้จะต้องมีค่า E0 มากกว่าไฮโดรเจน(ซึ่งเท่ากับ0) แต่ในความเป็นจริง Cu E0 มันเป็นบวกครับ ข้อนี้จึงผิด
2.Cu เกิดปฏิกิริยากับ Cl เป็นสารประกอบไอออนิก ถูกชัวร์ๆ เพราะ โลหะ+อโลหะ =พันธะไออนิก
3.สารประกอบ X Y นั่นคือ Cl กับ O สภาพเป็นกรดเมื่อละลายน้ำ ข้อนี้ก็ถูกครับ คลอไรด์ของอโลหะ หรือออกไซด์ของอโลหะที่ละลายน้ำสมบัติเป็นกรด
4.ธาตุ X เกิดเป็นสารประกอบ
XBr2 ได้ ถูกครับ X คือ Cu มีเลขออกซิเดชั่นได้หลายค่า เกิดได้แน่นอนครับ

ข้อ 44 ตอบ ไม่มีคำตอบ แต่หากใช้ข้อมูลตามความเป็นจริงจะตอบ 4.ไอโซอิเล็กทรอนิก
พิจรณา Ar เลขมวล 40 เลขอะตอม=20 เพราะฉะนั้น โปรตอน=20 นิวตรอน=40-20 อิเล็กตรอน=20  (ในความเป็นจริง Ar เลขอะตอมเท่ากับ 18)
พิจรณา Sc เลขมวล 45 เลขอะตอม=21 ประจุ=+3   เพราะฉะนั้น โปรตอน=21 นิวตรอน=45-21=24 อิเล็กตรอน=21-3=18
ไอโซโทป คือ โปรตอนเท่ากัน
ไอโซโทน คือ นิวตรอนเท่ากัน
ไอโซบาร์ คือ เลขมวลเท่ากัน
ไอโซอิเล็กทรอนิก คือ อิเล็กตรอนเท่ากัน   <<<<<< จึงตอบ ข้อ 4

ข้อ 45 ตอบ 4.Li+
เหตุผล ไอออนหรือธาตุจะมีความเสถียรเมื่อมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย
1.H+ 
2.He+
3.He2+    
4.Li+        จัดเรียงได้เป็น 2 ซึ่งเหมือนกับ He

ข้อ 53 54 และ 58 เป็นเรื่องของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
ข้อ 53 ตอบ ข้อ 2
ข้อนี้จริงๆง่าย แต่ คิดเลขถึกไปหน่อยครับ
โจทย์บอกผสมกันโดยไม่เกิดปฏิกิริยา อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง
แทนสูตร PV=nRT ได้เลย
หา n ก่อนครับ จะได้ไม่งง n=g/m=(0.10/2)+(0.11/44)
(P)(0.4+0.2)=(0.05+0.0025)(0.082)(27+273)
ย้ายข้างสมการหา P = 2.152 atm
ข้อควรระวัง การแทนสูตร PV=nRT ต้องระวังหน่วย
P หน่วย atm หรือ บรรยากาศ
V หน่วย ลิตร
T หน่วย เคลวิน

ข้อ 54 ตอบ 4
ข้อนี้แจกคะแนนเลยครับ
เหตุผล การแพร่ของก๊าซ ขึ้นกับมวลโมเลกุล มวลโมเลกุลมากแพร่ช้า มวลโมเลกุลน้อยแพร่เร็ว
(ลองไปรวมมวลโมเลกุลเองนะครับ)



ข้อนี้ก็ง่ายครับ แต่เลขมันดูโหดๆ พอจิ้มเครื่องคิดเลข จะง่ายทันที
เป็นการเปรียบเทียบแก๊ส 2 สภาวะ
จากสูตร PV/mT=PV/mT
แทนค่า สูตรนี้ P V ไม่บังคับหน่วยแต่ต้องเป็นหน่วยเดียวกัน
T ในเรื่องนี้คิดเคลวินตลอดนะครับ
1 บรรยากาศ=760 มิลลิเมตรปรอท
เปลี่ยนองศาเซลเซียสเป็นเคลวินทำได้โดย +273
(760)(2)/(1)(285)=(608)(V)/(342)(2)
V= 6 ลิตร
ข้อ 56 และ 57 เรื่อง สมดุลเคมี 


เราจะรู้ว่า สมดุลเลื่อนไปทางไหนนั้น เราต้องพิจรณาดังนี้ครับ
กรณีความดัน เพิ่มความดัน สมดุลเลื่อนไปทางโมลที่น้อยกว่า (นับโมลแก๊สเท่านั้น) ระวังถ้าโจทย์ไม่ดุลสมการมาให้ แต่ข้อนี้ใจดี ดุลสมการให้แล้ว
ดังนั้น
1.ไปทางขวา
2.ไม่มีผล
3.ไปทางซ้าย
4.ไปทางซ้าย
กรณีอุณหภูมิ ต้องรู้ว่า สมดุลนั้นเป็นดูดหรือคายความร้อน ถ้าเป็นระบบดูดความร้อนการเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะเลื่อนไปข้างหน้า(ทางขวา)
ดังนั้น
1.เอนทัลปี<0 แสดงว่า เป็นระบบคายความร้อน สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
2.เอนทัลปี>0 แสดงว่า เป็นระบบดูดความร้อน   สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา
3.+พลังงานไปด้านผลิตภัณฑ์ เป็น ระบบคายความร้อน สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
4..+พลังงานไปด้านสารตั้งต้น เป็น ระบบดูดความร้อน สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา

โจทย์ถามเลื่อนไปทางเดียวกัน จึงตอบ ข้อ 3 ทางซ้ายทั้งคู่

ข้อ 59-61 เรื่องกรด-เบส

กรด pH=3 นำมาเจือจางด้วยน้ำ pH มันต้องเพิ่มขึ้น ตัดข้อ 1 ทิ้งไปเลย
การเจือจางสารละลาย สูตร CV=CV
(0.1)(100)=(C)(100+900)
C=0.01
หาความเข้มข้นของ [H+]=10^-3.5
Take log หา pH=3.5 

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ปิโตรเลียม

การเกิดปิโตรเลียม
.....เรารู้จักผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำมันก๊าดน้ำมันเบนซินยางมะตอยแต่เราไม่เคยเห็น
ปิโตรเลียมตามธรรมชาติเลย
....ปิโตรเลียม ประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นของเหลวข้นๆสีดำๆก๊าซธรรมชาติเหลวจะอยู่ชั้นบน
ของปิโตรเลียมและเกิดจากการกลั่นตัวตามธรรมชาติของน้ำมันดิบ
....ปิโตรเลียมเกิดจากซากพืชซากสัตว์ตายทับถมกันภายใต้พื้นพิภพเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นชั้นหินด้วยความกดดันสูงอันเกิดจากการเคลื่อนตัวและหดตัวของชั้นหินและอุณหภูมิใต้พิภพ สารอินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธาตุไฮโดรเจนและไฮโดรคาร์บอน
จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างช้า ๆ แปรสภาพเป็นก๊าซและน้ำมันดิบสะสมและซึมผ่านชั้นหินที่เป็นรูพรุน เช่น ชั้นหินทราย
และชั้นหินปูนไปสู่แอ่งหินที่ต่ำกว่า จากนั้นค่อย ๆ สะสมตัวอยู่ระหว่างชั้นหินที่หนาแน่น ซึ่งไม่สามารถซึมผ่านไปได้อีก โดยปกติ
ปริมาณการสะสมตัวจะมี 5.25 % ของปริมาตรหิน เนื่องจากปิโตรเลียมถูกบีบอัดด้วยชั้นหินต่าง ๆ มันจะพยายามแทรกตัว
ขึ้นมายังผิวโลกตามรอยแตกของชั้นหิน เว้นแต่ว่ามันจะถูกปิดกั้นด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ซึ่งทำให้มันถูกกักไว้ใต้ผิวโลก
.... ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินใต้ผิวโลกที่เหมาะสมในการเกิดปิโตรเลียม คือ ชั้นหินรูปโค้งประทุนคว่ำ
(anticlinal trap)โครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน (fault trap) โครงสร้างรูปโดม (domal trap) และโครงสร้างรูปประดับชั้น
(stratigraphic trap)
.....โครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้ชั้นหินมีรูปร่างโค้งคล้ายกะทะคว่ำหรือหลังเต่า
น้ำมันและแก๊สจะเคลื่อนเข้าไปรวมตัวกันอยู่ในส่วนโค้งก้นกะทะ โดยมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่
......โครงสร้างรูปประดับชั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกในอดีต ชั้นหินกัก
เก็บน้ำมันจะถูกล้อมเป็นกะเปาะอยู่ระหว่างชั้นหินเนื้อแน่น
......โครงสร้างรูปโดม เกิดจากการดันตัวของชั้นหินเกลือ ผ่านชั้นหินกักเก็บน้ำมันซึ่งตามปกติจะเป็นรูปโดม น้ำมันและ
แก๊สจะสะสมอยู่ด้านข้างของโดมชั้นเกลือ
......โครงสร้างรูปรอยเลื่อน เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้ชั้นหินเคลื่อนไปคนละแนว การที่น้ำมันและแก๊ส
ถูกกักเก็บอยู่ได้ เพราะมีชั้นหินเนื้อแน่นเลื่อนมาปิดชั้นหินที่มีรูพรุนทำให้น้ำมันและแก๊สถูกกักเก็บอยู่ในช่องที่ปิดกั้น
การกลั่นปิโตรเลียม
.....ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ได้จากหลุมผลิตที่เจาะพบใต้พิภพ จะต้องผ่านกรรมวิธีก่อนนำมาใช้ เช่น ปิโตรเลียม
จากฐานขุดเจาะในทะเลจะส่งผ่านไปแยกแก๊ส น้ำและสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันดิบแล้วจึงถูกส่งผ่านไปยังสถานีแยกปิโตรเลียมที่ชายฝั่ง
ที่สถานีนี้ปิโตรเลียมจะถูกแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ตามต้องการเพื่อความสะดวกและเหมาะสมต่อการ
ใช้ประโยชน์ การแยกน้ำมันดิบคือการแยกส่วนประกอบน้ำมันดิบด้านกายภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะแยกโดยวิธีการกลั่นลำดับส่วน
ซึ่งใช้หลักนำน้ำมันดิบมากลั่นในหอกลั่นบรรยากาศ น้ำมันดิบจะถูกแยกตัวออกเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่มีช่วงจุดเดือดต่าง
กันนั่นคือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในน้ำมันดิบ จะมีระดับการกลั่นที่อุณหภูมิแตกต่างกันตั้งแต่
ลบ 157 องศาเซลเซียส ขึ้นไปจนถึงหลายร้อยองศาเซลเซียส ....กระบวนการกลั่นแยกส่วน ปิโตรเลียมจะถูกส่งผ่านเข้าไปในท่อเหล็กซึ่งเรียงอยู่เป็นแถวในเตาเผาและมีความร้อนขนาด
315 - 371 องศาเซลเซียส (600 - 700 องศาฟาเรนไฮต์) หลังจากนั้น น้ำมันดิบและไอน้ำร้อนจะไหลผ่านไปในหอกลั่น
บรรยากาศ ซึ่งมีถาดเรียงกันเป็นชั้น ๆ หลายสิบชั้น ไอร้อนที่จะกลั่นตัวเป็นของเหลวในถาดชั้นใด ตามอุณหภูมิของจุดเดือด
ของน้ำมันในส่วนนั้น ชั้นยอดสุดซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดจะเป็นแก๊ส รอง ๆ ลงไปจะเป็นเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
น้ำมันหล่อลื่น และยางมะตอย ตามลำดับ
.....สำหรับก๊าซธรรมชาติจะนำมาแยกออกเป็นแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น อีเทน (Ethane) ใช้เป็นวัตถุดิบ
ทำอุตสาหกรรมเปโตรเคมีคัลเพื่อผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ โพรเพน (propane) และบิวเทน (butane)
แยกเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลวหรือแก๊สหุงต้ม (liquified petroem gas-LPG)
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
.....ในที่นี้จะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเท่านั้น คือ แก๊ส L.P.G.หรือแก๊สหุงต้มน้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา
.....แก๊ส L.P.G. หรือแก๊สหุงต้ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่ำมาก มีสภาพเป็นแก๊สในอุณหภูมิห้องดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องเพิ่มความดัน หรือลด
อุณหภูมิให้ก๊าซปิโตรเลียมเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา แก๊สนี้เป็นแก๊สผสมระหว่างก๊าซโพรเพน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 3 อะตอม
กับก๊าซบิวเทน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 4 อะตอม เมื่อเวลาลุกไหม้จะให้ความร้อนสูง และมีเปลวที่สะอาด ปกติไม่มีสีไม่มีกลิ่น แต่เพื่อให้เป็นที่สังเกตง่ายเมื่อรั่ว
ผู้ผลิตจึงใส่กลิ่นเข้าไป ประโยชน์ ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์รวมทั้งเตาเผา เตาอบต่าง ๆ
.....น้ำมันเบนซิน (gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์มาก โดยใช้จุดระเบิดที่หัวเทียน น้ำมันเบนซินประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ชนิดหนึ่งมีจำนวน 8 อะตอมใน 1 โมเลกุล เรียกว่า ไอโซออกเทน น้ำมันเบนซินที่มีไอโซออกเทนบริสุทธิ์จะมีสมบัติในการทำงานกับเครื่องยนต์ดีมาก
เราเรียกว่ามีออกเทนนัมเบอร์เป็น 100 จะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ เบนซินชนิดนี้จะมีราคาแพง หากน้ำมันเบนซินที่มีไฮโดรคาร์บอนน้อยกว่า 8 อะตอมใน
1 โมเลกุล มีค่าออกเทนนัมเบอร์ต่ำ จะทำให้มีราคาถูก เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่ดี จึงมีการเติมสารบางชนิดลงไปในเบนซินคุณภาพต่ำเพื่อให้มีคุณภาพดี
ใกล้เคียงกับเบนซินที่มีออกเทนนัมเบอร์สูง สารที่นิยมเติมกันมากคือ เตตระเอธิลเลต ซึ่งประกอบด้วยตะกั่วจะมีผลต่อมลภาวะอากาศ หากใช้สารเมทิลเทอร์-
เธียรีมิวทิลอีเธน หรือเอ็มทีบีอีเติมแทน จะไม่ทำให้เกิดมลภาวะ และจะทำให้เบนซินมีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน
.....น้ำมันก๊าด (kerosene) เป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในระยะแรก ๆ เดิมน้ำมันก๊าดใช้จุดตะเกียงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน น้ำมันก๊าดใช้
ประโยชน์อย่างอื่นได้หลายประการ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทา น้ำมันขัดเงา และเป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดในด้านการเกษตร
ให้กำลังรถแทรกเตอร์ และใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
.....น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (Diesel) ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีมูลฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน เพราะต้องการความร้อนที่เกิดจากการอัดอากาศ
อย่างสูงในลูกสูบ เชื้อเพลิงดีเซลใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ และเรือประมง
.....น้ำมันเตา (fuel oils) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำและเตาเผา หรือเตาหลอมในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือ
เดินสมุทร น้ำมันเตามี 3 ชนิด คือ
1. น้ำมันเตาอย่างเบามีความหนืดต่ำใช้กับหม้อน้ำขนาดเล็ก
2. น้ำมันเตาอย่างกลางมีความหนืดปานกลางใช้กับหม้อน้ำขนาดกลาง
3. น้ำมันเตาอย่างหนักมีความหนืดสูงใช้กับเตาเผาในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์
การใช้พลังงานปิโตรเลียมอย่างประหยัดและถูกวิธี
.....ประโยชน์ของพลังงานปิโตรเลียมมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือ การนำพลังงานปิโตรเลียมมาใช้กับยวดยานพาหนะและเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดต่าง ๆ
ทางอ้อมคือ การนำพลังงานปิโตรเลียมมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในอาคารบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม
..... การใช้พลังงานปิโตรเลียมจึงควรใช้อย่างประหยัดและถูกวิธี เพราะพลังงานปิโตรเลียมเป็นพลังงานที่เมื่อใช้แล้วจะหมดสิ้นไปจากโลก และพลังงานปิโตรเลียม
เป็นพลังงานที่ติดไฟง่าย จึงมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้เนือง ๆ
.....การใช้พลังงานปิโตรเลียมทางตรงอย่างประหยัดและถูกวิธี มีหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้คือ
......1. การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ ให้สม่ำเสมอ ใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นให้เหมาะสม ทำความสะอาดเครื่องยนต์ให้ถูกวิธี ใช้งานตามความสามารถและ
ใช้อย่างถนอม ปรับแต่งเครื่องยนต์ เช่น ตั้งศูนย์ปรับแต่งรอบเผาไหม้ เป็นต้น
......2. เลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสมกับกำลังเครื่องยนต์ หลีกเลี่ยงเชื้อเพลิงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การใช้แก๊สกับเครื่องยนต์อาจเกิดอันตรายง่ายเพราะไวไฟ
กว่าน้ำมันเบนซิน เป็นต้น
......3. หลีกเลี่ยงวัสดุติดไฟหรือการกระทำใด ๆ ที่ประมาทอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ กำหนดสถานที่เก็บเชื้อเพลิงให้ปลอดภัยที่สุด
......4. การใช้แก๊สหุงต้มควรเลือกถัง หัวเตาที่ได้มาตรฐาน หมั่นตรวจสอบรอยรั่วและปิดให้เรียบร้อยหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว

......การใช้พลังงานปิโตรเลียมทางอ้อมอย่างประหยัดและถูกวิธี มีหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้คือ
......1. สำรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีอะไรบ้าง เพื่อทราบจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับความจำเป็น
......2. สำรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว เพื่อให้ทราบว่าแต่ละตัวมีขนาดกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์ ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดมีวัตต์สูงจะกินไฟมาก ถ้ามีวัตต์ต่ำจะกินไฟน้อย
ควรสนใจเครื่องใช้ที่วัตต์สูง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เพื่อหาทางประหยัด รู้ได้อย่างไรว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์
......3. เลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานในบ้าน เช่น ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนการใช้หลอดไส้เพราะ
ประหยัดไฟฟ้ากว่า
......4. เมื่อเลิกใช้ไฟฟ้าควรปิดสวิตช์หรือถอดปลั๊กทันที
......5. ไม่ควรใช้เครื่องไฟฟ้าพร้อม ๆ กันหลายตัว ทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และอาจทำให้สายไฟฟ้าในบ้านร้อนจนเกิดเพลิงไหม้ได้
......6. บำรุงรักษาและหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง

รับตรง ม.ศิลปากร


   UploadImage
 


คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีนโยบายเปิดรับนักศึกษาเพิ่มพิเศษ สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ และสาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2555 (รอบสอง) ซึ่งมีหลักเกณฑ์และรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปฏิทินกำหนดการรับสมัครสอบคัดเลือก

UploadImage
หมายเหตุ ปฏิทินกำหนดการรับสมัครสอบคัดเลือกฯ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงจะประกาศให้ทราบภายในวันที่13 กันยายน 2554


จำนวนที่รับเข้าศึกษา
สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ จำนวนรับ40 คน
สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี จำนวนรับ20 คน

คุณสมบัติเฉพาะ
1 ต้องสอบได้ในลำดับที่ 1-50 ของสายวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเมื่อเรียงตามค่าระดับเฉลี่ยสะสม ม.4 - ม.5 รวม 4 ภาคการศึกษา
2 ต้องได้ค่าระดับเฉลี่ยในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อไปนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 3.00 ของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนับถึงภาคการศึกษาปลายของชั้น ม.5
3 ต้องไม่เป็นผู้พิการหรือมีโรค
4 ต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาลด้วยการกระทำความผิดในคดีอาญา

วิธีการสมัครสอบคัดเลือก
1 ผู้สมัครเข้าสู่เว็บไซต์ http://www.eng.su.ac.th เพื่อทำการสมัครสอบกับโปรแกรมการรับสมัครโดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
2 เมื่อกรอกข้อมูลแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงยืนยันการสมัคร (กรุณากรอก ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนให้ถูกต้อง เพราะผู้สมัครต้องใช้ในการตรวจสอบสถานะการสมัคร)
3 พิมพ์ใบสมัคร และเมื่อการสมัครเสร็จสิ้นแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ถ้าสมัครหลายครั้งด้วยข้อมูลของคนเดียวกัน ระบบจะทำการยกเลิกการสมัครที่ผ่านมาทั้งหมด และใช้การสมัครครั้งล่าสุด
4 ชำระเงินค่าสมัคร โดยธนาณัติ หรือการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือชำระเงินโดยตรงที่คณะฯ
ในกรณีที่มาสมัครด้วยตนเองการชำระเงินทางธนาณัติสั่งจ่าย (ชื่อผู้รับ)
“ค่าสมัครสอบโครงการพิเศษ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ (รอบสอง)”
เพื่อจ่ายเงินให้ผู้รับ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ “ปทฝ. สนามจันทร์ 73001”
การโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขา ม.ศิลปากร-พระราชวังสนามจันทร์
“ค่าสมัครสอบโครงการพิเศษ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ (รอบสอง)” บัญชีเลขที่ 537-2-05194-5
กรณีสมัครด้วยตนเอง
ให้สมัครและชำระเงินค่าสมัครด้วยเงินสด โดยตรงที่คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในวันและเวลาราชการ (มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการสมัคร)

5 ให้ผู้สมัครตรวจสอบสถานภาพการชำระเงินทางเว็บไซต์http://www.eng.su.ac.thหลังจากส่งหลักฐานการชำระเงินแล้ว 5 วัน
6 ส่งเอกสารและหลักฐานการสมัครด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เอกสารที่ส่งถึงฝ่ายรับสมัครแล้วถือเป็นสิ้นสุดการสมัคร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ได้อีก

การประกาศรายชื่อผู้เข้าสอบข้อเขียนวิชาเคมี
วันศุกร์ ที่ 23 กันยายน 2554 ทางเว็บไซต์ http://www.eng.su.ac.th และติดประกาศ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

การสอบข้อเขียนวิชาเคมี
จัดให้มีการทดสอบข้อเขียนวิชาเคมี ในวันอาทิตย์ที่2 ตุลาคม 2554

การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์
วันศุกร์ที่4 พฤศจิกายน 2554 ทางเว็บไซต์ http://www.eng.su.ac.th และติดประกาศ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย

การสอบสัมภาษณ์และส่งใบรายงานการตรวจสุขภาพและเอ็กซเรย์ร่างกาย
วันอาทิตย์ที่13 พฤศจิกายน 2554รายงานตัวเข้าสอบสัมภาษณ์ เวลา 08.30-10.30 น.

การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษา
วันจันทร์ที่21 พฤศจิกายน 2554 ทางเว็บไซต์ http://www.eng.su.ac.th และติดประกาศ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม หรือสามารถสอบถามทาง
โทรศัพท์ได้ในวันและเวลาราชการได้ที่หมายเลข 0-3421-9364-6 ต่อ 25707, 25708
รายละเอียดเพิ่มเติม 1

รายละเอียดเพิ่มเติม 2

รายละเอียดเพิ่มเติม 3

credit>>>enn

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ถ่านหิน

ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจนนอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ประเภทของถ่านหิน

การเกิดถ่านหินมีความหลากหลายทั้งจากปัจจัยของแหล่งกำเนิด ระยะเวลาและสภาวะต่างๆ ทำให้ถ่านหินจากแหล่งต่างกันมีองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างกันและถูกแบ่งประเภทไว้เป็นศักดิ์ (RANK) ตามความสมบูรณ์ทางธรณีวิทยาที่กลายเป็นถ่านหิน (Coalification Process) สามารถแยกประเภทตามลำดับชั้นได้เป็น 5 ประเภท คือ[1]
  1. พีต (Peat) เป็นขั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน ประกอบด้วยซากพืชซึ่งบางส่วนได้สลายตัวไปแล้ว แต่ซากพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด ยังมองเห็นเป็นลำต้น กิ่ง หรือใบ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ มีปริมาณคาร์บอนต่ำ ประมาณร้อยละ 50-60 โดยมวล มีปริมาณออกซิเจนและความชื้นสูงแต่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
  2. ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินที่มีสีน้ำตาลผิวด้าน มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีคาร์บอนร้อยละ 60-75 มีออกซิเจนค่อนข้างสูง มีความชื้นสูงถึงร้อยละ 30-70 เมื่อติดไฟมีควันและเถ้าถ่านมาก มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า บ่มใบยาสูบ
  3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าลิกไนต์ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ผิวมีทั้งด้านและเป็นมัน มีทั้งเนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง มีความชื้นประมาณร้อยละ 25-30 มีคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม
  4. บิทูมินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าซับบิทูมินัส เนื้อแน่น แข็ง มีสีน้ำตาลถึงสีดำสนิท ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการถลุงโลหะ และเป็นวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงอื่นๆ
  5. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าบิทูมินัส มีลักษณะดำเป็นเงา มันวาวมาก มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย มีปริมาณคาร์บอนประมาณร้อยละ 90-98 ความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 2-5 มีค่าความร้อนสูงแต่ติดไฟยาก เมื่อติดไฟให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ

[แก้]การใช้ประโยชน์ถ่านหิน

ถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งสำรองกระจายอยู่ทั่วโลกและปริมาณค่อนข้างมาก การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ่านหินราคาถูกกว่าน้ำมัน ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ และการผลิตอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา และการแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

[แก้]แหล่งถ่านหินในประเทศไทย

ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มีปริมาณสำรองทั้งสิ้น ประมาณ 2,197 ล้านตัน แหล่งสำคัญอยู่ในภาคเหนือประมาณ 1,803 ล้านตัน หรือร้อยละ 82 ของปริมาณสำรองทั่วประเทศ ส่วนอีก 394 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 18 อยู่ภาคใต้ ถ่านหินส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำอยู่ในขั้นลิกไนต์และซับบิทูมินัส มีค่าความร้อนระหว่าง 2,800 - 5,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม หรือ ถ่านลิกไนต์ 2 - 3.7 ตัน ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตา 1 ตัน ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ จัดว่าเป็นลิกไนต์ที่คุณภาพแย่ที่สุด พบว่าส่วนใหญ่ มีเถ้าปนอยู่มากแต่มีกำมะถันเพียงเล็กน้อย คาร์บอนคงที่อยู่ระหว่างร้อยละ 41 - 74 ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 30 และเถ้าอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 45 โดยน้ำหนัก ในช่วงที่ราคาน้ำมันยังไม่แพงประเทศไทยไม่นิยมใช้ลิกไนต์มากนักแต่ภายหลังที่เกิดวิกฤติน้ำมัน จึงได้มีการนำลิกไนต์มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แหล่งถ่านหินที่มีการสำรวจพบบางแหล่งได้ทำเหมืองผลิตถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว แต่บางแหล่งยังรอการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป
ในฐานะเป็นเชื้อเพลิงตัวหนึ่งถ่านหินก้อมีข้อดีข้อด้อยในตัวเองเช่นเดียวกับเชื้อเพลิงน้ำมัน ก๊าซ และเชื้อเพลิงหมุนเวียน การพิจารณานำมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อสถานการณ์แตกต่างกันไป โดยข้อดีและข้อด้อยของเชื้อเพลิงชนิดต่างๆสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้

เชื้อเพลิงข้อดีข้อเสีย
ถ่านหินมีอยู่มาก ไม่ขาดแคลน ขนส่ง และเก็บง่าย ราคาถูก ปลอดภัย ไม่เสี่ยงมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมากที่สุด ปัญหาการยอมรับของสังคมทำให้ต้องมีการจัดการลดก๊าซ CO₂ มาก
น้ำมันเหมาะสมกับภาคขนส่ง ใช้สะดวก ขนส่งและเก็บง่ายแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัวมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก ปริมาณสำรองเหลือน้อย
ก๊าซมีประสิทธิภาพสูง ไม่เหลือกากหรือเศษที่ต้องกำจัด เหมาะสมกับภาคครัวเรือนมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก แปลงเป็นเชื้อเพลิงอื่น หรือผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ราคาผันผวนมาก ไม่มั่นคง มีแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว มีความเสี่ยงขณะขนส่ง และเก็บ
นิวเคลียร์เชื้อเพลิงราคาถูก ให้พลังงานมาก ปราศจากคาร์บอนการจัดการกับกากนิวเคลียร์ยังเป็นประเด็นปัญหา ปัญหาการยอมรับ ความเสี่ยงเรื่องความคุ้มค่าของสังคม เงินลงทุนสูงมาก
เชื้อเพลิงหมุนเวียนเกิดมลภาวะน้อย ใช้ได้ยั่งยืนความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติ หรือการก่อการร้าย ปริมาณจำกัด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และฤดูกาล มีไม่พอกับความต้องการ แต่พลังงานน้อย ใช้พื้นที่กองเก็บมาก ราคาผันผวน พลังงานแสงอาทิตย์ใช้พื้นที่มาก ให้พลังงานต่อน้ำหนักน้อย

[แก้]การใช้ถ่านหินในโลก

ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลก โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 41 มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถจัดหาได้ง่าย การใช้ถ่าน การใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าทั่วไปจะใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ถ่านหินมาต้มน้ำให้เกิดไอน้ำโดยใช้หม้อไอน้ำ (Steam Boiler) หรือเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Steam Generator)และส่งไอน้ำไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)เพื่อผลิตไฟฟ้า
นอกจากใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าแล้ว ถ่านหินยังเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ อาหาร เป็นต้น สารเคมีต่างๆ ในถ่านหินยังสามารถแยกออกมาเพื่อผลิตพลาสติก น้ำมันทาร์ ไฟเบอร์สังเคราะห์ ปุ๋ย และยาได้
แหล่งถ่านหินนั้นมีกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแหล่งที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ (Recoverable Reserves) มีประมาณ 70 ประเทศ ซึ่งจากการประมาณปริมาณสำรองถ่านหินของโลก โดย Energy Information Administration ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี พ.ศ. 2546 ทั่วโลกมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1,000,912 ล้านตัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองถ่านหินอยู่มาก ได้แก่ ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศโปแลนด์ เยอรมัน และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศรัสเซีย
เนื่องจากถ่านหินมีราคาถูก สามารถจัดหาได้ง่ายและกองเก็บไว้ในโรงไฟฟ้าได้ทำให้การผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับไฟฟ้าขั้นต่ำ (Base Load Demand)ส่วนความผันผวนของราคาถ่านหิน เนื่องจากถ่านหินเป็นสินค้า (Commodity)ชนิดหนึ่งซึ่งมีการซื้อขายกันในตลาดโลกเช่นเดียวกับน้ำมัน ราคาถ่านหินจึงอาจมีแนวโน้มสูงขึ้นหรือต่ำลงในลักษณะเดียวกับน้ำมันได้ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ และการเก็งกำไรในตลาด อย่างไรก็ตามถ่านหินยังคงมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น

[แก้]การใช้ถ่านหินในประเทศไทย

ถ่านหินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นลิกไนต์ (Lignite) ที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ คือมีค่าความร้อนต่ำ ความชื้นสูง เถ้าสูง และบางแหล่งมีปริมาณซัลเฟอร์สูง ดดยมีแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้นคือ ซับบิทูมินัส (Sub bituminous) และแอนทราไซต์ (Anthracite)อยู่เพียงเล็กน้อย ที่จังหวัดเลย สำหรับปริมาณปริมาณถ่านหินสำรองของประเทศไทย แบ่งเป็นลิกไนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า มีปริมาณ 1,140 ล้านตัน และซับบิทูมินัส ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม ประมาณ 200 ล้านตัน
ปัจจุบันประชาชนชาวไทยยังไม่ยอมรับเชื้อเพลิงถ่านหินเนื่องจากประสบการณ์ในอดีตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเทคโนโยยีในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยและการลงทุนติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมมลภาวะอาจยังไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบกับแหล่งถ่านหินในประเทศเป็นถ่ายหินที่คุณภาพไม่ดีนัก ถึงแม้ภายหลังจะได้รับการบริหารจัดการเป็นอย่างดี ทั้งด้านเทคโนโลยีที่สะอาดและการได้รับความยอมรับในพื้นที่ แต่ก็ยังเป็นที่กังวลของหลายฝ่าย จึงทำให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหินยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ สำราญ พฤกษ์สุนทร, คัมภีร์เคมี ฉบับสมบูรณ์ ม.4-5-6, สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา, พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, หน้า 313-314, ISBN 978-974-9719-57-2

[แก้]อ้างอิง

ทางเลือกเชื้อเพลิง ทางออกไฟฟ้าไทย กระทรวงพลังงาน